Saturday, January 31, 2009

‘อีโค ไอเดีย’ แนวคิดรักษ์โลกร้อนจากญี่ปุ่น

‘อีโค ไอเดีย’ แนวคิดรักษ์โลกร้อนจากญี่ปุ่น

ปัจจุบันกระแส “โลกร้อน” ฮิตไปทั่วโลก ทุกประเทศออกมาสนับสนุนโครงการลดโลกร้อน อย่างเมืองไทยรณรงค์ให้คนใช้ถุงผ้าเพื่อช่วยลดการใช้ถุงพลาสติก

อีก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลกร้อน ล่าสุดจากการติดตามกลุ่มบริษัท พานาโซนิค ประเทศไทย ไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ทำให้เห็นเทคโนโลยีและวิวัฒนาการ อาทิ การรีไซเคิล ความพยายามในการออกแบบโดยใช้แนวคิด “อีโค ไอเดีย” และผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ เครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีการสร้างบ้านแห่งอนาคต ที่เหมาะกับคนทุกเพศ ทุกวัย ฯลฯ ซึ่งล้วนน่าทึ่งและก้าวล้ำไปไกลกว่าไทยมาก

เครื่องปรับอากาศเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“โลกร้อน” เป็นปัญหาที่ทั่วโลกได้เริ่มตระหนักถึง โดยเฉพาะวงการอุตสาห กรรมที่มีส่วนทำให้เกิดโลกร้อน อาทิ การผลิตเครื่องปรับอากาศที่ทำให้เกิดปัญหาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในขั้นตอนการ ผลิต รวมทั้งระหว่างการใช้งานจริงตามบ้านเรือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศของพานาโซนิค ตั้งอยู่ที่เมืองชิกะ โอซากา ประเทศญี่ปุ่น เซทซูโอะ มิโซกูจิ ผู้จัดการโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน พานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น
สำหรับ โรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศที่ชิกะ เป็นโรงงานที่ผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้ภายในบ้าน พื้นที่โรงงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งอะไหล่ และชิ้นส่วนเพื่อการส่งออกไปโรงงานอีก 6 แห่งในโลก อาทิ แคนาดา มาเลเซีย โดยผลิตอะไหล่ได้ 7 ล้านชิ้น ส่งไป 125 บริษัททั่วโลก

เซทซูโอะ บอกต่อเกี่ยวกับกฎเหล็กที่พานาโซนิคยึดเป็นนโยบายหลักในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม คือ

1.ดูแลขบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ภายในบ้านให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศให้ น้อยที่สุด โดยตั้งเป้าว่าจะพยายามปล่อยก๊าซลดลง 2.9 หมื่นตัน ภายในปี 2552 หรือลดลงประมาณ 23%

2.ใช้อีโค ไอเดีย ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้ประหยัดไฟให้มากที่สุด เช่น เครื่องซักผ้าลดค่าไฟที่ 52% ตู้เย็น 54% เครื่องปรับอากาศ 19% โดยตั้งแต่ปี 2000 ถึงปัจจุบันก็มีแนวโน้มลดค่าไฟฟ้าลงไปเรื่อยๆ ด้วยการใช้เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเข้ามาช่วย อาทิ การใช้เทคโนโลยี “ฮีต ปัมป์” เพื่อเวลาปล่อยความร้อนให้น้อยที่สุดในการใช้เครื่องปรับอากาศแต่ละครั้ง อีกทั้งออกแบบเครื่องปรับอากาศให้ใช้วัสดุให้น้อยลง และแต่ละชิ้นส่วนสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ทั้งหมด รวมทั้งลดขนาดให้เล็กที่สุด เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศให้น้อยที่สุด ในการใช้เครื่องปรับอากาศ

3.อีโค ไอเดีย สำหรับทุกคน ทุกสถานที่ แต่เดิมใช้โรงงานหลายแห่งผลิตชิ้นส่วน ปัจจุบันรวมทุกส่วนในการผลิตชิ้นส่วนมาไว้ที่เดียวกัน เพื่อประหยัดเวลาในการขนถ่ายชิ้นส่วน และประหยัดไฟฟ้าด้วย โดยย้ายโรงงานมาไว้ที่ชิกะทั้งหมด อีกทั้งโรงงานร่วมทำกิจกรรมให้กับสังคมและชุมชน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

พานาโซนิคมีนโยบายที่เริ่มทำโครงการนี้ ตั้งแต่เดือนต.ค. ปี 2549 สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ถึง 3 แสนตัน

โรงงานรีไซเคิลนำกลับมาใช้อีก

“พานาโซนิค” ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้ตระหนักและแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยการตั้งโรงงานรีไซเคิลขนาดใหญ่และทันสมัยเป็นอันดับต้นๆ ของญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ พานาโซนิค อีโค เทคโนโลยี เซ็นเตอร์ หรือพีเทค ตั้งอยู่ที่เมืองกาโต โรงงานแห่งนี้ก่อตั้งด้วยงบประมาณ 600 ล้านบาท ก่อสร้างเมื่อเดือนเม.ย. 2543 หน้าที่ของโรงงานแห่งนี้คือ การแปรสภาพสินค้าเก่าให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เพื่อลดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลญี่ปุ่นที่บังคับใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม ในญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนเม.ย. 2544 ที่ออกกฎหมายว่า โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องมีการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ต้องทำการรีไซเคิลก็คือ โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และเครื่องซักผ้า

มาซาชิโร เซทโตยามา Director Plant Manager บริษัท พานาโซนิค อีโค เทคโนโลยี เซ็นเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น บอกว่าผู้บริหารของพานาโซนิคมีวิสัยทัศน์ที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเต็ม รูปแบบให้สำเร็จในปี 2653 ภายใต้แนวคิด “กรีนโปรดักต์” คือการผลิต และการใช้วัสดุที่ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือของเสียออกมา และทำการรีไซเคิลสินค้าที่พานาโซนิคส่งขายออกไป

ปัจจุบัน เมื่อผู้ใช้ใช้ผลิตภัณฑ์จนใช้อีกไม่ได้แล้ว เมื่อต้องการทิ้งจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการทิ้งสินค้าด้วย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทีวี เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า ตู้เย็นตามขนาด เช่น ทีวีเกิน 16 นิ้วขึ้นไป จะต้องจ่ายเงิน 2,835 เยน หากต้องการทิ้งสินค้าเมื่อไหร่ ต้องโทรศัพท์ไปบอกบริษัท 300 กว่าแห่ง ที่มีไว้บริการให้มารับสินค้าไปทำการรีไซเคิลต่อไป นี่คือระบบรีไซเคิลของประเทศญี่ปุ่น ทุกคนมีหน้าที่ในความรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่ซื้อไป

ทางด้านโรงงานผู้ผลิตเอง ก็ต้องผลิตสินค้าดูแลสิ่งแวดล้อมผลิตแต่ละชิ้น ที่นำกลับมาต้องรีไซเคิลให้ได้ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ เช่น เครื่องปรับอากาศต้องทำการรีไซเคิลให้ได้มากกว่า 60% ทีวี 55% ตู้เย็นและเครื่องซักผ้า 50% ของน้ำหนักเครื่องทั้งหมด หลังจากทำรีไซเคิลแล้ว ซึ่งหลังจากทำการรีไซเคิลแล้ว อย่างทีวีจอโค้ง ที่มีส่วนประกอบเป็นแก้ว 57% พลาสติก 23% เหล็ก ทองแดง และอะลูมิเนียม ซึ่งแก้วที่มีอยู่ 57% ในทีวี สามารถนำมาผลิตแก้วได้ถึง 68 ใบทีเดียว

ญี่ปุ่นออกกฎหมายสิ่งแวดล้อมเข้ม

ญี่ปุ่นยังมีการปรับเปลี่ยนกฎหมายที่ดูแลสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ เช่น ทุก 5 ปี จะมีการตรวจสอบกฎหมายกันอีกครั้ง ว่าสมควรจะใช้กันต่อไปหรือไม่ หรือว่าต้องเพิ่มในเรื่องใดบ้าง อีกข้อคือเมื่อก่อนจะทิ้งสินค้าต้องจ่ายเงิน แต่ปัจจุบันต้องจ่ายเงินทันทีตั้งแต่ซื้อผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าพยายามใช้วัสดุให้มีชิ้นเล็กลง และใช้พลาสติกน้อยลง ทำให้การใช้พลาสติกในปี 2526 ใช้เพียง 13 ชนิด ส่วนในปี 2546 ใช้แค่ 2 ชนิด และใช้เหล็กให้มีปริมาณน้อยลง และเมื่อมีเหล็กเป็นส่วนประกอบจะต้องทำงานรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์ได้มากที่ สุด

ในเรื่องของการทำลายพลาสติก ดูอย่างเรื่องง่ายๆ สมัยก่อนหากพลาสติกใช้ไม่ได้มักทำลายด้วยการเผาทิ้ง ซึ่งถือเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม สิ่งที่โรงงานรีไซเคิลทำได้ก็คือ ทำการแยกส่วนประกอบ สิ่งที่ทำรีไซเคิลได้นำไปปั่น บดให้ละเอียด ทำการแยกส่วนประกอบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งขั้นตอนการรีไซเคิลไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ สิ่งที่พานาโซนิคพยายามทำก็คือ ทำการวิจัยการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ใหม่ แสดงให้เห็นว่าในอีก 1015 ปีข้างหน้า หากนำผลิตภัณฑ์มารีไซเคิลใหม่ จะรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

สร้างต้นแบบบ้านรักษ์สิ่งแวดล้อม

อีกทางหนึ่งในการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพานาโซนิค คือ การจำลองบ้านเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัยใช้งานง่ายเหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย หรือ บ้าน Eco & UD (Universal Design) โดยตั้งอยู่ภายในพานาโซนิค เซ็นเตอร์ เมืองโตเกียว ซึ่งเปิดให้ชมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2549

ความน่าสนใจของบ้าน Eco & UD อยู่ที่การจำลองบ้านเพื่อการอยู่อาศัยในปี 2553 โดยประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของพานาโซนิค การจัดเพื่อความสะดวกสบายและกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมด้วยสินค้าที่ทันสมัย และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องปรับอากาศที่มีระบบการทำงานในตัวเอง ตู้เย็นไม่ใช้สารไฮโดรฟลูโรคาร์บอน เครื่องล้างจาน เครื่องซักผ้าถังเฉียง เครื่องปั่นแห้งประหยัดน้ำ และไฟแอลอีดีที่มีอายุการใช้งานยาวนาน การนำความร้อนที่ได้จากการต้มน้ำมากักเก็บเป็นพลังงานใช้ภายในบ้านอีกด้วย

บ้านหลังนี้มีความโดดเด่นรวม 8 ส่วน คือ ห้องแสดงแนวคิด ห้องนั่งเล่นที่มองเห็นโดยรอบ ห้องครัวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและออกแบบให้ใช้งานได้ทุกเพศ ทุกวัย ห้องน้ำและห้องรีดผ้า มุมพลังงานที่มีการสร้างระบบพลังงานใหม่ ประตูทางเข้าที่มีระบบสแกนม่านตาเพื่อความปลอดภัย โฮมเธียเตอร์ที่ใช้รีโมตเครื่องเดียวสามารถควบคุมได้ทุกจุด และห้องนอนที่ประกอบด้วย เสียง แสงและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการนอนหลับ

เมื่อก้าวเข้าสู่บ้านจำลอง เบื้องต้นจะเจอกับระบบรักษาความปลอดภัยด้วยระบบโทรทัศน์วงจรปิด การสั่งการเปิดประตูด้วยโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะมีไอดีการ์ดสำหรับสั่งการเป็นเสมือนกุญแจบ้าน โทรทัศน์จอพลาสมาขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล และใช้ควบคุมรวมถึงบอกพลังงานภายในบ้าน ตลอดจนการดูแลความปลอดภัย นอกเหนือจากการให้ความบันเทิงทั่วไป

สนนราคาคร่าวๆ หากต้องการมีบ้านที่ออกแบบให้ประหยัดพลังงาน และสะดวกสบายเช่นนี้อยู่ที่ประมาณ 30 ล้านบาท คาดว่าบ้านชาญฉลาดนี้จะได้รับความนิยม เพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตในอนาคตอันใกล้

อีกจุดหนึ่งเมื่อเข้าไปเยี่ยมชมใน พานาโซนิค เซ็นเตอร์ กรุงโตเกียว มุมแสดงนวัตกรรมใหม่ จอชาญฉลาด หรือ “ไลฟ์ วอลล์” ที่บอกได้คำเดียวว่าเจ๋งสุดๆ เนื่องจากมันเป็นจอทีวีแห่งโลกอนาคต ที่มีขนาดใหญ่เท่ากับฝาผนังของบ้านทีเดียว ซึ่งฝาผนังนี้จะถูกควบคุมด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย สามารถดูทีวี เล่นเกม แชต และช็อปปิ้งออนไลน์ที่ผ่านได้เลย

“ฟิวเจอร์ ไลฟ์ วอลล์” หรือ ทีวีแห่งโลกอนาคต คือจอพลาสมาขนาด 150 นิ้ว เสนอเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำแห่งโลกอนาคต สามารถใช้ทั้งรีโมตคอนโทรล หรือเพียงปลายนิ้วสัมผัสในการควบคุม โดยกำแพงของบ้านก็จะเป็นทีวี รวมทั้งเล่นอินเทอร์ เน็ตได้ด้วย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พานาโซนิคพยายามคิดค้น และไม่เปิดเผยเทคโน โลยีการทำงานของเจ้า “ฟิวเจอร์ ไลฟ์ วอลล์” นี้

source: Post Today
URL และ หาภาพเสริมโดย TTDD

Eco & Ud House


Entrance


Model

Kitchen

Home theatre

Office

Wellness room

Bedroom

Energy units




Macross Variable Fighters

https://youtu.be/ZByNgWBYhUY